จังหวัดเลย

 


ประวัติจังหวัดเลย




เมืองเลย ได้ชื่อว่า "เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม" มีหลักฐานเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาว่า ก่อตั้งโดยชนเผ่าไทยที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษ ที่ก่อตั้งอาณาจักรโยนก โดยพ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง (เชื่อถือกันว่าเป็นเชื้อสายราชวงศ์สิงหนวัติ) ได้มีผู้คนอพยพจากอาณาจักรโยนก ที่ล่มสลายแล้ว ผ่านดินแดนลานช้างข้ามลำน้ำเหืองขึ้นไปทางฝั่งขวาของลำน้ำหมันถึงบริเวณที่ราบพ่อขุนผาเมืองได้ตั้งบ้านด่านขวา (ปัจจุบันอยู่ในบริเวณชายเนินนาด่านขวา ซึ่งมีซากวัดเก่าอยู่ในแปลงนาของเอกชน ระหว่างหมู่บ้านหัวแหลมกับหมู่บ้านนาเบี้ย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ) ส่วนพ่อขุนบางกลางหาวได้แบ่งไพร่พลข้ามลำน้ำหมันไปทางฝั่งซ้ายสร้างบ้านด่านซ้าย(สันนิษฐาน ว่าอยู่ในบริเวณหมู่บ้านเก่า อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ในปัจจุบัน) ต่อมาจึงได้อพยพเลื่อนขึ้นไปตามลำน้ำ ไปสร้างบ้านหนองคู และได้นำนามหมู่บ้านด่านซ้าย มาขนานนามหมู่บ้านหนองคูใหม่เป็น " เมืองด่านซ้าย " อพยพไปอยู่ที่เมืองบางยาง ในที่สุดโดยมีพ่อขุนผาเมืองอพยพผู้คนติดตามไปตั้งเมืองราด (เชื่อว่าเป็นเมืองศรีเทพ อยู่ในท้องที่อำเภอศรีเทพ และอำเภอ วิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์) และตั้งเมืองด่านซ้ายเป็นเมืองหน้าด่านทางตะวันออกของเมืองบางยาง นอกจากนี้แล้ว ยังมีชาวโยนกอีกกลุ่มหนึ่งได้อพยพมาตั้งบ้านเรือน ระหว่างชายแดนตอนใต้ของอาณาเขตลานนาไทย ต่อแดนลานช้างอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะอพยพหนีภัยสงคราม ข้ามลำน้ำเหืองมาตั้งเมืองเซไลขึ้น (สันนิษฐานว่าอยู่ในท้องที่ หมู่บ้านทรายขาว ตำบลทรายขาว อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย) จากหลักฐานในสมุดข่อยที่มีการค้นพบเมืองเซไล อยู่ด้วยความ สงบร่วมเย็นมา จนกระทั่งถึงสมัยเจ้าเมืองคนที่ 5 เกิดทุพภิกขภัย ข้าวยากหมากแพง ฝนฟ้าไม่ตก จึงได้พาผู้คนอพยพ ไปตามลำแม่น้ำเซไล ถึงบริเวณที่ราบระหว่างปากลำห้วยไหลตกแม่เซไล จึงได้ตั้งบ้านเรือนขึ้นขนานนามว่า " บ้านแห่ " (บ้านแฮ่) ส่วนลำห้วยให้ชื่อว่า "ห้วยหมาน" ในปี พ.ศ. 2396 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพิจารณาเห็นว่าหมู่บ้านแฮ่ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่ง ห้วยน้ำหมาน และอยู่ใกล้กับแม่น้ำเลย มีผู้คนเพิ่มมากขึ้น สมควรจะได้ตั้งเป็นเมือง เพื่อประโยชน์ในการปกครองอย่างใกล้ชิด จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งเป็นเมืองเรียกชื่อตามนามของแม่น้ำเลยว่า "เมืองเลย" ต่อมา พ.ศ. 2440 ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองพื้นที่ ร.ศ.116 แบ่งการปกครองเมืองเลย ออกเป็น 4 อำเภอ อำเภอที่ตั้งเมืองเรียกชื่อว่า "อำเภอกุดป่อง" ต่อมา พ.ศ. 2442-2449 ได้เปลี่ยนชื่อเมืองเลยเป็น "บริเวณลำน้ำเลย" พ.ศ. 2449 - 2540 เปลี่ยนชื่อบริเวณลำน้ำเลยเป็นบริเวณลำน้ำเหือง และใน พ.ศ. 2450 ได้มีประกาศของกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2450 ยกเลิกบริเวณลำน้ำเหือง ให้คงเหลือไว้เฉพาะ "เมืองเลย" โดยให้เปลี่ยนชื่ออำเภอกุดป่อง เป็นอำเภอเมืองเลย

ที่ตั้งจังหวัดเลย


จังหวัดเลยเป็นจังหวัดชายแดน ตั้งอยู่เหนือสุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 11,424 ตารางกิโลเมตร หรือ 7,140,383 ไร่ (ประมาณร้อยละ 6.74 ของเนื้อที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ) พื้นที่ส่วนใหญ่ ประมาณร้อยละ 70 เป็น ป่าและภูเขสูงสลับซับซ้อน ตัวจังหวัดห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 550 กิโลเมตร ปัจจุบันแบ่งการปกครองออกเป็น 14 อำเภอ มีอาณาเขตชายแดนติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงและแม่น้ำเหือง เป็นแนวพรมแดน ระยะทางยาว 194 กิโลเมตร และจังหวัดเลย มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีแม่น้ำเหืองและแม่น้ำโขงเป็นแนวพรมแดน

ทิศใต้ ติดต่อ อ. ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น , อ.น้ำหนาว อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์

ทิศตะวันออก ติดต่อ อ.สังคม จ.หนองคาย, อ.น้ำโสม จ.อุดรธานี, กิ่ง อ.นาวัง จ.หนองบัวลำภู ,อ.สีชมภู จ.ขอนแก่น

ทิศตะวันตก ติดต่อ อ.นครไทย อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก

โดยแนวชายแดนที่ติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงและแม่น้ำเหืองเป็นแนวกั้น อาณาเขต รวมระยะทาง 194 กม. (กิโลเมตร)
- แม่น้ำโขงระยะทางยาว 71 กม. (อยู่ในเขต อ.ปากชม อ.เชียงคาน)
- แม่น้ำเหืองระยะทางยาว 123 กม. (อยู่ในเขต อ.ท่าลี อ.ภูเรือ อ.ด่านซ้าย อ.นาแห้ว)



ลักษณะภูมิประเทศ

จังหวัดเลย ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบสูง โคราช ที่เรียกว่า ?แอ่งสกลนคร ภูมิประเทศส่วนใหญ่ เป็น เทือกเขาในแนวทิศเหนือใต้โดยมีที่ราบลุ่มระหว่าง หุบเขา ขนาดไม่ใหญ่มากนัก สลับอยู่แนวเทือกเขาเหล่านั้น หินที่พบในบริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นหินมีอายุมาก

ลัักษณะภูมิอากาศ

จังหวัดเลยอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับภูมิประเทศเต็มไปด้วยภูเขา ท้าให้มีอากาศร้อนจัดในฤดูร้อน และหนาวจัดในฤดูหนาว จังหวัดเลยมี พื้นที่เป็นภูเขาสูง จึงทําให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงง่าย อุณหภูมิสูงสุด 43.5 องศาเซลเซียส ( 25 เมษายน 2517) และ ตํ่าสุด ประมาณ -1.3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 26.1 องศาเซลเซียส ช่วงเดือนมิถุนายนถึงตุลาคม จะมีลม มรสุมหรือแนวปะทะโซนร้อน (Inter Tropical Convergence Zone: ITCZ) พาดผ่านเป็นครั้งคราวท้าให้มีฝนตก หนัก ปริมาณนํ้าฝน 5 ปีย้อนหลังเฉลี่ย 1,299 มม. จํานวนฝนตกรวม จํานวน 129 วัน โดยในปี พ.ศ. 2540 มีปริมาณนํ้าฝนน้อยที่สุดวัดได้ ปริมาณ 968.8 มม. และปริมาณนํ้าฝนมากที่สุดปี พ.ศ.2542 วัดได้ปริมาณ 1,549 มม. สําหรับฤดูกาลต่าง ๆ ของจังหวัดเลย มีรายละเอียดดังนี้

- ฤดูร้อน เริ่มจากเดือนมีนาคม - เดือนพฤษภาคม (มีอุณหภูมิสูงสุด เดือนเมษายน ในปี พ.ศ. 2517 อุณหภูมิสูงสุดถึง 43.5 องศาเซลเซียส)

- ฤดูฝน เริ่มจากเดือนพฤษภาคม - ปลายเดือนกันยายน (ปริมาณนํ้าฝนเฉลี่ย 1,299 ม.ม.ต่อปี จากค่าเฉลี่ยของปริมาณน้ำฝน ปี พ.ศ. 2540 - 2545 )

- ฤดูหนาว เริ่มจากกลางเดือนตุลาคม - ปลายเดือนกุมภาพันธ์ (มีอุณหภูมิต่ำสุดที่เคยวัดได้ในท้องที่อำเภอภูเรือ -1.3 องศาเซลเซียส ในปี พ.ศ. 2517)



แผนที่จังหวัดเลย

1 ความคิดเห็น: